ข้อมูลสภาพทั่วไป
1. ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ที่ Latitude 7.866576 Longitude 99.676354 (7°51’59.7″N 99°40’34.9″E) เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอห้วยยอด มีระยะทางห่างกันประมาณ 5 กิโลเมตร มีเนื้อที่รวม 30,943.75 ไร่ หรือประมาณ 49.51 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลตำบลท่างิ้ว ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556
2. อาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ตำบลต่าง ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลเขาปูน อำเภอห้วยยอด
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองช้างแล่น ตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด
3. ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลท่างิ้ว โดยทั่วไปจะเป็นที่ราบและภูเขา สามารถแยกได้ดังนี้
– พื้นที่ที่เป็นภูเขา จะอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 1, 5, 7 พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและป่าไม้
– พื้นที่ที่เป็นภูเขาจะอยู่กระจัดกระจายทั้งตำบล พื้นที่ส่วนใหญ่ประชาชนใช้ทำสวนยางพาราและทำนา
4. ลักษณะภูมิอากาศ
ภูมิอากาศตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ภายใต้ อิทธิพลของลมมรสุมที่พัดผ่านประจำเป็นฤดูกาล 2 ชนิด คือ ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นลมเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย จังหวัดตรังซึ่งอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลของลมนี้จึงมีฝนตก เพียงเล็กน้อย และมีอากาศเย็น ลมมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งพัดผ่านมหาสมุทรอินเดีย จึงพาเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาสู่ประเทศไทย แต่เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ทางด้านรับลมจึงได้รับอิทธิพลจากลมนี้อย่างเต็ม ที่ จึงทำให้มีฝนตกชุกมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนบนของประเทศ แต่ในภาคเดียวกันจังหวัดตรังมีฝนอยู่ในเกณฑ์แล้ง
ฤดูกาล ได้แก่
1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม หลังจากสิ้นสุดฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือหรือฤดูหนาว
2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมร้อนและชื้นมากจากมหาสมุทรอินเดียพัดปกคลุมประเทศไทย
3) ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปก คลุมประเทศไทย
5. ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลาผ่านได้แก่
– คลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1, 2, 7, 6
– คลองไสมะม่วง หมู่ที่ 3
– คลองมวน หมู่ที่ 4
– คลองโก หมู่ที่ 7
ด้านการเมือง/การปกครอง
1. เขตการปกครอง
เทศบาลตำบลท่างิ้ว มีจำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลตำบล เต็มหมู่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
1 |
บ้านท่างิ้ว |
2 |
บ้านนาโพธิ์ |
3 |
บ้านไสมะม่วง |
4 |
บ้านปากห้วย |
5 |
บ้านไทรงาม |
6 |
บ้านทุ่งควน |
7 |
บ้านหินงอม |
8 |
บ้านเกาะยางแดง |
2. การเลือกตั้ง
ประกอบด้วย 2 เขตได้แก่
เขตที่ 1 ได้แก่ หมู่ที่ 1, 3 บางส่วน, 5, 7,8
เขตที่ 2 ได้แก่ หมู่ที่ 2,3 บางส่วน, 4, 6
ประชากร
1. ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน
ตำบลท่างิ้ว |
ชาย(คน) 2,512 |
หญิง(คน) 2,471 |
รวม 4,986 |
ครัวเรือน 1,698 |
หมู่ที่ 1 ท่างิ้ว |
406 |
360 |
766 |
242 |
หมู่ที่ 2 นาโพธิ์ |
322 |
317 |
639 |
229 |
หมู่ที่ 3 ไสม่วง |
337 |
355 |
692 |
220 |
หมู่ที่ 4 ปากห้วย |
308 |
328 |
636 |
263 |
หมู่ที่ 5 ไทรงาม |
227 |
207 |
437 |
148 |
หมู่ที่ 6 ทุ่งควน |
312 |
348 |
660 |
195 |
หมู่ที่ 7 หินงอม |
207 |
210 |
417 |
139 |
หมู่ที่ 8 เกาะยางแดง |
393 |
346 |
739 |
262 |
สภาพทางสังคม
1. การศึกษา
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง
1. โรงเรียนวัดเขาปูน
2. โรงเรียนบ้านไสมะม่วง
3. โรงเรียนท่างิ้ว (ตชด.อุปถัมภ์) เป็นโรงเรียนขยายโอกาส เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านท่างิ้ว
2. สาธารณสุข
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 บ้านหินงอม ซึ่งเป็นการบริการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคไม่ร้ายแรง เช่น ไข้หวัด ฯลฯ และยังให้การแนะนำและปรึกษาการวางแผนครอบครัว
3. ความมั่นคงปลอดภัย
ป้อมตำรวจชุมชน จำนวน 1 แห่ง
ระบบบริการพื้นฐาน
1. การคมนาคมขนส่ง
ถนนลาดยาง จำนวน 10 สาย ระยะทาง 23.62 ก.ม.
ถนนคอนกรีต จำนวน 16 สาย ระยะทาง 11.94 ก.ม.
ถนนลูกรัง / หินคลุก จำนวน 42 สาย ระยะทาง 25.61 ก.ม.
สะพาน จำนวน 13 แห่ง
2. การไฟฟ้า
มีครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,698 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100%
หน่วยงานเจ้าของไฟฟ้า คือ การไฟฟ้าส่วนภุมิภาค
ไฟฟ้าสาธารณะจำนวน 100 จุด ครอบคลุมถนน 20 สาย
3. การประปา
มีระบบประปาเทศบาลตำบลท่างิ้ว ทั้ง 8 หมู่บ้าน
4. โทรศัพท์
ปัจจุบันทุกหมู่บ้าน ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นส่วนใหญ่
โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 3 ตู้
5. ไปรษณีย์หรือการสื่อสารหรือการขนส่ง และวัสดุ ครุภัณฑ์
ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง ปัจจุบันเทศบาลตำบลท่างิ้ว มีไปรษณีย์อนุญาตเอกชนให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านไสมะม่วง ให้บริการด้าน รับ – ส่ง จดหมาย ส่วนการบริการด้านอื่น ๆ ยังไม่มีให้บริการ
- ระบบเศรษฐกิจ
6.1 การเกษตร
ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน สวนผลไม้ ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
6.2 การประมง
ตำบลท่างิ้ว มีการประมง คือ เลี้ยงปลาในกระชัง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว
6.3 การปศุสัตว์
ตำบลท่างิ้ว มีการปศุสัตว์ คือ
– การเลี้ยงโค ประปรายทั้งตำบล
– สุกร ได้แก่ หมู่ที่ 2,4,8 (บริษัทตรังวัฒนาฟาร์ม จำกัด ฟาร์มสุกรที่ใหญ่ในภาคใต้ อยู่ในหมู่ 4) และ
– เลี้ยงไก่ ได้แก่ หมู่ที่ 1,7
6.4 การบริการ
หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว
– ฟาร์มปศุสัตว์ |
จำนวน |
4 แห่ง |
– ร้านขายของชำ |
จำนวน |
43 แห่ง |
– ตลาดนัด |
จำนวน |
2 แห่ง |
– ร้านเสริมสวย |
จำนวน |
4 แห่ง |
– ประปาส่วนภูมิภาค |
จำนวน |
1 แห่ง |
– ล้างอัดฉีด |
จำนวน |
1 แห่ง |
– ร้านอาหารตามสั่ง |
จำนวน |
2 แห่ง |
– รับซื้อผลผลิตยางพารา |
จำนวน |
21 แห่ง |
– ธุรกิจบ้านเช่า |
จำนวน |
15 แห่ง |
– อู่ซ่อมรถ |
จำนวน |
8 แห่ง |
– ซัก อบ รีด |
จำนวน |
4 แห่ง |
– จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร |
จำนวน |
1 แห่ง |
– ปั้มน้ำมัน |
จำนวน |
2 แห่ง |
– เสาสัญญาณโทรศัพท์ |
จำนวน |
5 แห่ง |
– ผลิต/จำหน่ายน้ำดื่ม |
จำนวน |
1 แห่ง |
– ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีฯ ม.3 |
จำนวน |
1 แห่ง |
– วัสดุก่อสร้าง |
จำนวน |
2 แห่ง |
– สหกรณ์กองทุนสวนยาง ม.8 |
จำนวน |
1 แห่ง |
– กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต |
จำนวน |
8 แห่ง |
– กองทุนหมู่บ้าน |
จำนวน |
8 แห่ง |
6.5 การท่องเที่ยว
- อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ดำเนินการสร้างในปีงบประมาณ 2540 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในตำบลท่างิ้วให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง
- น้ำตกบ่อเจ็ดลูก ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว เป็นน้ำตกที่อยู่แถบเทือกเขาบรรทัดที่ชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นกำเนิดของแหล่งน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำท่างิ้ว ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคหล่อเลี้ยงชาวอำเภอห้วยยอด
ตำบลท่างิ้ว ไม่มีอุตสาหกรรมในพื้นที่
6.7 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ
ในพื้นที่มีร้านสะดวกซื้อ 1 แห่ง คือ 7-11 สาขาตลาดท่างิ้ว
กลุ่มอาชีพได้แก่
1. บ้านท่างิ้ว |
กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง กลุ่มปลูกปาล์ม กลุ่มทำแคปหมู กลุ่มแปรรูปปลา กลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้า |
2. บ้านนาโพธิ์ |
กลุ่มน้ำยางสด กลุ่มส่งเสริมอาชีพสตรีบ้านนาโพธิ์ (ดอกไม้จันทร์และของชำร่วย) กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มถ่านหอม |
3. บ้านไสมะม่วง |
กลุ่มรับซื้อน้ำยาง กลุ่มสานกระเป๋าจากเชือกมัดฟาง กลุ่มสวนปาล์ม กลุ่มสัมมาชีพ (ทำไตปลาแห้งและขนมไทย) |
4. บ้านปากห้วย |
กลุ่มปลูกปาล์ม กลุ่มปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงไก่ |
5. บ้านไทรงาม |
กลุ่มผลิตน้ำดื่ม กลุ่มเครื่องแกงกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นบ้าน |
6. บ้านทุ่งควน |
กลุ่มปลูกมะนาว กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มปลูกผัก |
7. บ้านหินงอม |
กลุ่มเลี้ยงปลา กลุ่มขนมไทย กลุ่มปลูกผัก กลุ่มผลิตน้ำมันเหลือง กลุ่มเพาะเห็ด |
8. บ้านเกาะยางแดง |
กลุ่มเลี้ยงไก่ กลุ่มน้ำดื่ม |
6.8 แรงงาน
ประชากรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ประกอบอาชีพทำสวน ได้แก่ สวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ ที่เหลือประกอบอาชีพส่วนตัวและรับจ้าง
- 7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม
7.1 การนับถือศาสนา
ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มี วัด 1 แห่ง คือวัดเขาปูน ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านนาโพธิ์
7.2 ประเพณีและงานประจำปี
– ประเพณีลากเรือพระ
– ประเพณีสารทเดือนสิบ
– ประเพณีรดน้ำผู้สูงอายุ
– ประเพณีลอยกระทง
– ประเพณีออกพรรษา
– ประเพณีทอดกฐินสามัคคี
– ประเพณีแห่เทียนพรรษา
7.3 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น
หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว |
|||||||
1. |
นายสมศักดิ์ แพ่งโยธา |
ทำไม้กวาด |
3. |
นายลอย ชัยณรงค์ |
หมอพื้นบ้าน(ตั้งพระภูมิเจ้าที่) |
||
2. |
นายจรัญ ไข่คล้าย |
ช่างก่อสร้าง |
4. |
นางผ่อง หวายฤทธิ์ |
หมอพื้นบ้าน(นวดแต่งท้อง) |
||
หมู่ที่ 2 บ้านนาโพธิ์ |
|||||||
1. |
นายสนอง สืบสังข์ |
ช่างไม้ |
4. |
นายยอด รักดำ |
งานจักสาน |
||
2. |
นายอรุณ สงสม |
เกษตรผสม |
5. |
นายสมพงศ์ เกลี้ยงเกลา |
เพาะปลูก |
||
3. |
นางนิ่มนวล ภูมิพันธ์ |
ถนอมอาหาร |
6. |
นางรัชนี จิตรอักษร |
ถนอมอาหาร |
||
หมู่ที่ 3 บ้านไสมะม่วง |
|||||||
1. |
นางวาส ทองชู |
นวดแผนโบราณ |
7. |
นางส่อง นวลละออ |
หมอพื้นบ้าน,นำพระ |
||
2. |
นางสมฤทัย ล้อมเมือง |
วัฒนธรรม |
8. |
นางละเมียด ราชดี |
มโนห์รา |
||
3. |
นางฉู พุทธพรึก |
เครื่องจักสาน |
9. |
นายเสถียร เที่ยงธรรม |
ช่างไม้ |
||
4. |
นางเสาวคน บรรจงช่วย |
เครื่องจักสาน |
10. |
นายนนท์ พรหมสุวรรณ |
เพาะปลูก |
||
5. |
นางนารีรัตน์ นนทจันทร์ |
เพาะปลูก |
11. |
นายประพาส นุ่นเส้ง |
เพาะปลูก |
||
6. |
นางพรพรรณ ทองแก้ว |
การถนอมอาหาร |
12. |
นางบุณเรือน ใต้การ |
การถนอมอาหาร |
||
หมู่ที่ 4 บ้านปากห้วย |
|||||||
1. |
นายประจวบ มืดมนต์ |
เพาะปลูก |
2. |
นายจำรัส ทองทาร่วง |
หมอพื้นบ้าน(ตั้งพระภูมิเจ้าที่) |
||
หมู่ที่ 5 บ้านไทรงาม |
|||||||
1. |
นางพลับ เกียรติภริพัฒน์ |
หมอพื้นบ้าน |
6. |
นายบัญญัติ ช่วยเกื้อ |
หนังตะลุง |
||
2. |
นายชัยนาท แสงสุริวงษ์ |
ช่างไม้/ช่างก่อสร้าง |
7. |
นายอาคม แสงแก้ว |
ช่างไม้/ช่างก่อสร้าง |
||
3. |
นายนิคม รัตนอุดม |
ช่างปูน/ช่างก่อสร้าง |
8. |
นายทุ่ม ชุมนาค |
เพาะปลูก |
||
4. |
นางสาวชื่นจิตร รัตนอุดม |
เพาะปลูก |
9. |
นายสุชาติ ช่วยเพขร |
ขยายพันธุ์พืช |
||
5. |
นายสมร ช่วยเกื้อ |
นำพระ |
10. |
นายอิ่น สุดจิตร์ |
นำพระ |
||
หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งควน |
|||||||
1. |
นายจัง สีสุข |
หมอพื้นบ้าน,สมุนไพร |
6. |
นางพะยอม เดชภักดี |
รำ/ตีกลองยาว |
||
2. |
นางสุภาวดี คนตรง |
รำ/ตีกลองยาว |
7. |
นายประทิน คงเหมือน |
ช่างไม้ |
||
3. |
นายจรินทร์ คำปล้อง |
ช่างไม้ |
8. |
นางประดับ สมาธิ |
เพาะปลูก |
||
4. |
นางพะยอม วารินสะอาด |
เพาะปลูก |
9. |
นางชู บริพันธ์ |
นำพระ |
||
5. |
นายสวิก โออินทร์ |
หนังตะลุง |
|
|
|
||
หมู่ที่ 7 บ้านหินงอม |
|||||||
1. |
นายติ้ว โพธิ์วิจิตร |
ช่างไม้ |
2. |
นางจับ รอดงาน |
หมอพื้นบ้าน (นวดแต่งท้อง) |
||
หมู่ที่ 8 บ้านเกาะยางแดง |
|||||||
1. |
นายคล้อย อ่อนชาติ |
หมอเอ็น |
3. |
นายประทีป ขาวทอง |
เศรษฐกิจพอเพียง |
||
2. |
นางเปรมรินทร์ อักษร |
ผักปลอดสารพิษ |
4. |
นายสมชาย คิดรอบ |
เศรษฐกิจพอเพียง |
7.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก
สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึกตำบลท่างิ้ว ได้แก่
– ตะกร้าย่าแย้ม ของกลุ่มผู้สูงอายุตำบลท่างิ้ว
– ปลาส้ม ของหมู่ 1
– ถ่านหอม ของหมู่ 2
– เครื่องแกง ของหมู่ 5
– ผลิตภัณฑ์ที่จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ได้แก่ น้ำมันเหลือง ของกลุ่มน้ำมันเหลืองสมุนไพร ของหมู่ 7
- 8. ทรัพยากรธรรมชาติ
8.1 น้ำ
แหล่งน้ำธรรมชาติ ประกอบด้วย
– คลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1, 2, 6, 7 – คลองไสมะม่วง หมู่ที่ 3
– คลองมวน หมู่ที่ 4 – คลองโก หมู่ที่ 7
แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์
– อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1 – นบนาโพธิ์ หมู่ที่ 2
– ฝายน้ำล้นไสมะม่วง หมู่ที่ 3 – สระห้วยนาง หมู่ที่ 3
– สระน้ำต้นหยี หมูที่ 4 – ฝายน้ำล้นบ้านในใส หมู่ที่ 5
– สระน้ำหนองเด หมู่ที่ 2, 6 – สระน้ำโรงรม หมู่ที่ 8
8.2 ป่าไม้
ลักษณะป่าไม้เป็นป่าดิบชื้น มีพื้นที่บางส่วนเป็นเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่ – เขาย่า ได้แก่ หมู่ที่ 1, 5, 7
8.3 ภูเขา
ในพื้นที่ไม่มีภูเขา
8.4 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของเทศบาลตำบลท่างิ้ว
ในพื้นที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ คือ น้ำดิบ อยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านท่างิ้ว (อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว)