ประวัติข้อมูลทั่วไป หมู่ที่๕

ส่วนที่ ๑

ข้อมูลทั่วไปของชุมชน หมู่ที่.๕

ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ( กชช.๒ ค)

ประวัติศาสตร์ชุมชน

          ชุนชนไทรงาม เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ ๕ ต.ท่างิ้ว มีพื้นที่ทั้งหมด ๒,๕๖๓ ไร่ มีจำนวน ๙๑ หลังคาเรือน ๙๘ ครอบครัว มีประชากรทั้งหมด ๓๗๑ คน

อาณาเขตติดต่อ

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับ                   หมู่ที ๗ ต.ท่างิ้ว 

         ทิศใต้              ติดต่อกับ                   หมู่ที่ ๔ ต.เขาปูน

        ทิศตะวันตก      ต่อต่อกับ                   หมู่ที่ ๗  ต.เขาปูน

        ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ                  เทือกเขาบรรทัด

ลักษณะภูมิประเทศ

          ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา ที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกสวนยางพารา สวนผลไม้  สวนปาล์ม และเป็นที่ทำนาเล็กน้อย

ลักษณะภูมิอากาศ

          มี ๒ ฤดู คือ ฤดูฝน และฤดูร้อน โดยเฉพาะฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม – เดือนธันวาคม รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านทะเลอันดามัน ฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมกราคม – เดือนเมษายน

ประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรม

          ชุมชนไทรงามเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใน ม.๕ ต.ท่างิ้ว อ.ห้วยยอด ดั้งเดิมที่แยกมาจาก ม.๑ ต.ท่างิ้ว ประมาณ ๗๐ ปีมาแล้ว เหตุที่เรียกว่าชุมชนไทรงาม เนื่องจากในสมัยก่อนมีต้นไทรอยู่ ๑ ต้น เป็นต้นไทรที่สวยงามมีความเจริญเติบโต และเป็นที่เคาระสักการะของคนในหมู่บ้าน ดังนั้น จังเรียกชุมชนนี้ว่า ชุมชนไทรงาม โดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรกที่มาจากกการแต่งตั้งของประชาชน คือ นายแดง ทนเมตตา

          ประชากรส่วนใหญ่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดพัทลุง ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกันโดยมีเทือกเขาบรรทัดกั้นอยู่ ภายหลังมีการอพยพจากภายนอกมากขึ้น โดยเข้ามาบุกเบิกขยายพื้นที่ทำกิน ทำสวนยางพารา และทำเหมืองแร่ดีบุก และแต่งงานกับคนในท้องถิ่นเดิม โครงสร้างทางสังคมจึงเป็นแบบเครือญาติ

          ต่อมาประมาณปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้มีการริเริ่มก่อสร้างโรงเรียนขึ้น โดยนายแดง ทนเมตตา ได้บริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นโรงเรียนบ้านไทรงาม เริ่มเปิดสอนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๔ และต่อมาได้ขยายหลักสูตรจนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๒๕ ครูใหญ่เห็นว่าโรงเรียนแห่งนี้มีพื้นที่คับแคบ จึงได้ปิดโรงเรียน และได้ย้ายไปเปิดใหม่ที่ ม.๗ ต.เขาปูน และตั้งชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนบ้านไทรงาม ตามชื่อเดิม ส่วนพื้นที่โรงเรียนเดิมได้มอบให้กรมธนารักษ์ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นที่ประชุมของหมู่บ้าน และเป็นศูนย์กลางในการร่วมทำกิจกรรมของชาวบ้าน

          ประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๕ – ๒๕๓๐ ได้มีการจัดตั้งองค์กรขึ้นอย่างเป็นทางการ คือการจัดตั้งหมู่บ้าน อพป. และมีคณะกรรมหมู่บ้านฝ่ายต่าง ๆ ในหมู่บ้านขึ้น เช่น กรรมการฝ่ายสวัสดิการ ฝ่ายป้องกัน รักษาความสงบในหมู่บ้าน ฝ่ายสาธรณสุข ฝ่ายการคลัง เป็นต้น และในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้มีการประกวดหมู่บ้าน ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น หมู่บ้าน อพป.ดีเด่น หมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง หมู้บ้านพัฒนชนบทแนวใหม่ หมู่บ้านเกษตรตัวอย่าง หมู่บ้านสาธารณสุขมูลฐานดีเด่น ซึ่งในการประกวดต่าง ๆ หมู่บ้านนี้ได้รับรางวัลชนะเลิศมาตลอดทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับภาค

          ด้านสาธารณูปโภค พ.ศ.๒๕๓๐ ได้มีการติดตั้งกระแสไฟฟ้าเข้ามาในหมู่บ้าน พ.ศ.๒๕๔๐ ได้มีการใช้น้ำประปาหมู่บ้านจากบ่อบาดาน สำนักงาเร่งรัดพัฒนาชนบท และกรมทรัพยากรธรณี และมีการเก็บค่าน้ำประปา หน่วยละ ๓ บาท โดยรายได้นี้จะนำไปใช้จ่ายเป็นค่าไฟฟ้าในการปั๊มน้ำประปา และในปี พ.ศ.๒๕๔๓ กรมชลประทานได้สร้างระบบน้ำเพื่อการเกษตร โดนไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ

          ทางด้านสัมพันธ์ภาพในชุมชนนั้น ชุมชนนี้เป็นชุมชนที่มีลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเครือญาติ มีความสัมพันธ์อันดีกันมาตลอด และไปมาหาสู่กันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูกาลเพาะปลูกก็จะไปช่วยกัน เช่น ลงแขกเกี่ยวข้าว หรือเมื่อมีงานเทศกาลต่าง ๆ ก็จะไปช่วยกันโดยไม่ต้องเอ่ยปากขอความช่วยเหลือ และเมื่อมีความขัดแย้งกันเกิดขึ้นในชุมชน สาเหตุหรือเรื่องใดก็ตาม ก็จะมีกลุ่มหรือบุคคลสูงอายุ หรือผู้นำต่างๆที่ชาวบ้านให้ความนับถือ เป็นคนที่คอยช่วยไกล่เกลี่ยเรื่องราวต่าง ๆ ให้ โดยวิธีการขจัดความขัดแย้งที่อาศัยกฎหมายในการแก้ปัญหาน้อยมาก ซึ่งจจะเห็นว่าบุคคลกลุ่มนี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุจะมีบทบาทสำคัญ ในการไกล่เกลี่ย เจรจา ประณีประนอม เป็นกลุ่มบุคคลที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ นอกจากนี้ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อชุมชนก็ยังมีอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการช่วยกันพัฒนาหมู่บ้าน โดยเฉพาะผู้ใหญ่จะดูแลเรื่องทุกอย่างภายในหมู่บ้าน ทั้งทุกข์สุขของประชาชนด้วย ปัจจุบันนี้สัมพันธภาพขอชุมชนได้เปลี่ยนแปลงไป เริ่มมีสัมพันธภาพเชิงพาณิชย์เข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอยู่