ส่วนที่ ๑
ข้อมูลทั่วไปของชุมชน หมู่ที่ ๔
ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ( กชช.๒ ค)
ประวัติศาสตร์ชุมชน
เมื่อประมาณ ๒๐๐ ปี ที่ผ่านมา ได้มีประชาชนเข้ามาจับจองที่ดินทำกิน ซึ่งบริเวณที่แห่งนี้มีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นท้องนา และป่าทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย เช่น เสือ นกป่า กระรอก เป็นต้น
ในอดีตได้มีประชากรเข้ามาจับจองแค่เพียง ๓ หลังคาเรือน ได้แก่ นายแจด กี่สุ้น นายกลิ่น กี่สุ้น และนายทิ่ง นิ่มกาญจนา และเรียกที่แห่งนี้ว่า บ้านนาหนองกก เพราะบริเวณที่แห่งนี้มีลักษณะเป็นท้องนา และมีหนองน้ำด้วย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทุรกันดารมาก การคมนาคมไม่สะดวก มีเฉพาะการเดินเท้าเท่านั้น ชาวบ้านแห่งนี้มีอาชีพทำไร๋ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ ควาย วัว เป็ดและไก่ เป็นต้น
ต่อมาไม่นานมีชาวบ้านที่รู้ว่าบริเวณที่แห่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานขึ้น และมีความอุดมสมบูรณ์ จุงได้อพยพชาวตำบลเขาขาวเข้ามา เพื่อทำมาหากินและสร้าครอบครัว ชาวบ้าวส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของ ๒ ตระกูลแรกที่เข้ามาบุกเบิกเมื่อครั้งในอดีต
เมื่อบ้านเมืองมีการพัฒนาและเจริญเติบโตขึ้น
ได้มีการพัฒนาหนทาง จึงมีการพัฒนาทางด้านเกษตรมากขึ้น ชาวบ้านได้ปลูกพืชเศรษฐกิจ
อาทิ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
การปกครอง ในสมัยนั้นมีการเลือกตั้งผู้นำขึ้นมาปกครอง
โดยมีกำนันตำบลท่างิ้วทั้งหมด ๘ คน เรียงตามลำดับ ดังนี้
๑.หมื่นกัด
๒.ขุนจิตร จิตรอักษร
๓.พันสง สีสุข
๔.พันลอย ดิษฐะ
๕.นายดวง สีสุข
๖.นายวาส สีสุข
๗.นายเที่ยง นิ่มกาญจนา
๘.นายจัง สีสุข ( ปัจจุบัน )
บริเวณบ้านนาหนองกกแห่งนี้ เป็นที่ตั้งของหมู่ที่ ๓ หรือบ้านไสมะม่วง ตำบลท่างิ้ว ในปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ ผู้ใหญ่บ้านคือนายผล กี่สุ้น ได้แบ่งแยกหมู่ที่ ๓ ออกมาเป็นหมู่ที่ ๔ ในอดีตบ้านนาหนองกก เป็นสถานที่สาธารณะประโยชน์ และเป็นที่ดินเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีพื้นที่ทั้งหมด ๓,๒๐๐ ไร่ เหมาะแก่การประกอบอาชีพเกษตรกรรมและได้เรียกบ้านแห่งนี้ว่า “บ้านปากห้วย” เนื่องจากมีแม่น้ำ ๒ สายไหลผ่านมาบรรจบกัน และต่อมากำนันหวั่น ชูศรี ได้ทำการขุดบริเวณปากแม่น้ำเพื่อให้น้ำไหลได้สะดวก ทำให้ชาวบ้านหมู่ที่ ๔ ตำบลท่างิ้ว เรียกที่แห่งนี้ว่าบ้านปากห้วยจนถึงปัจจุบัน
โดยมีผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายพเยาว์ พลูสวัสดิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งจนถึงปัจจุบัน โดยเริ่มมีครัวเรือนเพียงแค่ ๔๗ หลังคาเรือน ปัจจุบันมีครัวเรือนทั้งหมด ๑๐๖ หลังคาเรือน เนื่องจากมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จากการที่ได้แยกหมู่ที่ ๔ บ้านปากห้วย ออกจาหมู่ที่ ๓ ก็มีบางส่วนได้เรียกชื่อเดิมอยู่ เช่น บ้านหน้าค่าย บ้านดานยูง สาเหตุที่เรียกบ้านหน้าค่าย เพราะว่า ในอดีตได้มีตำรวจตระเวนชายแดนมาตั้งค่ายบริเวณทิศใต้ของตัวหมู่บ้านด้วย ซึ่งปัจจุบันได้สร้างเป็นโรงเรียนชื่อว่า โรงเรียนท่างิ้ว ( ตชด.อุปถัมภ์ )
สภาพโดยทั่งไปของชุมชน มีการจัดสร้างบ้านเรือนอยู่ใกล้ชิดกันบริเวณแนว ๒ ข้างถนนในหมู่บ้าน มีการแบ่งประชากรออกเป็น ๒ กลุ่ม ได้แก่ บ้านปากห้วย บ้านหน้าค่าย และบางส่วนมีการสร้างบ้านเรือนกระจัดกระจายกันออกไป
อาณาเขต
ทิศเหนือ จด คลองมวน และหมู่ที่๑ บ้านหนองบัวน้อย ตำบลหนองปรือ
ทิศใต้ จด หมู่ที่ ๖ บ้านทุ่งควน ตำบลท่างิ้ว
ทิศตะวันตก จด หมู่ที่ ๓ บ้านไสมะม่วง และหมู่ที่ ๘ บ้านเกาะยางแดง
ทิศตะวันออก จด ถนนรถไฟ และหมู่ที่ ๖ บ้านห้วยนาง ตำบลหนองช้างแล่น
การคมนาคม
หมู่ที่ ๔ บ้านปากห้วย มีการคมนาคม ๒ ทาง คือ ทางบกและทางน้ำ โดยทางบกมีถนนสายหลัก คือ ถนนสายเขาปูน-ในเตา และมีถนนคอนกรีต ๑ สาย เป็นถนนทางเข้าโรงเรียนท่างิ้ว (ตชด.อุปถัมภ์) และมีถนนลูกรัง ๓ สาย เป็นถนนทางเข้าชุมชน ซึ่งแยกจากถนนสายหลัก ประชาชนทั่วไปนิยมใช้รถจักรยายนต์เป็นพาหนะในการเดินทาง และบางส่วนใช้รถยนต์ส่วนตัว ส่วนทางน้ำใช้เรือหางยาว คือแม่น้ำสายห้วยชัยมัด