|
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานของเทศบาลตำบล
1.1 ที่ตั้ง เทศบาลตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ตั้งอยู่ที่Latitude 7.866576 Longitude 99.676354 (7°51’59.7″N 99°40’34.9″E) เทศบาลตำบลท่างิ้ว เป็นเทศบาลขนาดเล็ก ตั้งอยู่เลขที่ 55 หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ว่าการอำเภอห้วยยอด ตั้งอยู่ที่ 55 หมู่ที่ 2 ตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง มีระยะทางไปตามถนนห้วยยอด – ในเตา ประมาณ 5 กิโลเมตรมีเนื้อที่รวม 30,943.75 ไร่ หรือประมาณ 49.51 ตารางกิโลเมตร จัดตั้งขึ้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่างิ้ว อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง เป็นเทศบาลตำบลท่างิ้ว ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556 1.3 เนื้อที่ ตำบลท่างิ้วมีเนื้อที่ประมาณ 49.51 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,943.75 ไร่ 1.4 อาณาเขต อาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลหนองปรือ อำเภอรัษฎา และตำบลในเตา อำเภอห้วยยอด ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลเขาปูน และตำบลเขาขาว อำเภอห้วยยอด ทิศตะวันออก ติดต่อ จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลหนองช้างแล่น อำเภอห้วยยอด 1.5ลักษณะภูมิประเทศ สภาพภูมิประเทศของเทศบาลตำบลท่างิ้ว โดยทั่วไปจะเป็นที่ราบและภูเขา สามารถแยกได้ดังนี้ – พื้นที่ที่เป็นภูเขา จะอยู่ทางทิศตะวันออกของตำบล ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 1,5,7 พื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาและป่าไม้ – พื้นที่ที่เป็นภูเขาจะอยู่กระจัดกระจายทั้งตำบลพื้นที่ส่วนใหญ่ประชาชนใช้ทำสวนยางพาราและทำนา
1.6 เขตการปกครอง เทศบาลตำบลท่างิ้ว มีจำนวนหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลตำบล เต็มหมู่บ้านทั้ง 8 หมู่บ้าน โดยแยกพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ดังนี้
1.7ประชากร
ที่มา : สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือน ธันวาคม 2562) ประชากรทั้งสิ้น 4,927 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 15คน แยกเป็น ชาย 2,530 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 16 คน หญิง 2,456 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2562 จำนวน 31 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ100 คน/ตารางกิโลเมตร (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2562 สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี 2562) 1.8 สภาพทางเศรษฐกิจ 1 การประกอบอาชีพ ประชากรตำบลท่างิ้วส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง รองลงมาคือ สวนผลไม้ – ไม้ยืนต้น สวนปาล์มน้ำมัน รับจ้าง ค้าขาย ประกอบธุรกิจส่วนตัว และรับราชการ รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ของตำบลท่างิ้ว ตามข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระดับตำบล พ.ศ. 2558 จำแนกรายเฉลี่ยต่อคนต่อปีเป็นรายหมู่บ้าน มีรายละเอียดดังนี้
2. หน่วยธุรกิจในเขตเทศบาลตำบล
1.9สภาพทางสังคม 1. การศึกษา
2. สถาบันและองค์กรทางศาสนา
3. การสาธารณสุข
4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
1.10 การบริการขั้นพื้นฐาน 1. การคมนาคม
การคมนาคม ในเขตเทศบาลตำบล มีแนวทางพัฒนาที่จะปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ ไม้ไผ่และถนนลาดยางผิวเรียบ (เคปซีล)
2. การโทรคมนาคม
การโทรคมนาคมในเขตเทศบาลตำบลท่างิ้ว ปัจจุบันเทศบาลตำบลท่างิ้ว มีไปรษณีย์อนุญาตเอกชนให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 3 บ้านไสมะม่วง ให้บริการด้าน รับ – ส่ง จดหมาย ส่วนการบริการด้านอื่นๆยังไม่มีให้บริการ 3. การไฟฟ้า เทศบาลตำบลท่างิ้ว มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านแต่ไม่ครบทุกครัวเรือน สาเหตุที่ไม่มีไฟฟ้าใช้เพราะระยะทางห่างไกล ไม่มีเงินสมทบในการติดตั้งและอยู่ในเขตป่าสงวนเขาปู่ – เขาย่า ไฟฟ้าสาธารณะ จำนวน 80 จุด ขยายเขตไฟฟ้า จำนวน 8 จุด 4. แหล่งน้ำธรรมชาติ เทศบาลตำบลท่างิ้วจะใช้แหล่งน้ำธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำฝนเพื่อการเกษตรเพราะประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและทำสวนยางพาราแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆที่มีในตำบล เช่น – ลำน้ำ ลำห้วย จำนวน 4 สาย – บึง หนองน้ำ จำนวน 8 แห่ง แหล่งน้ำธรรมชาติ ใช้ในการเกษตรกรรม ประกอบด้วย – คลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1,2,7 ความยาว 36 กิโลเมตร – คลองไสมะม่วง หมู่ที่ 3 ความยาว 25 กิโลเมตร – คลองมวน หมู่ที่ 4 ความยาว 25 กิโลเมตร – ห้วยไม้ไผ่ หมู่ที่ 5 ความยาว 5 กิโลเมตร – คลองโก หมู่ที่ 7 ความยาว 20 กิโลเมตร 5. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น – อ่างเก็บน้ำ จำนวน 1 แห่ง – ฝายน้ำล้น จำนวน 6 แห่ง – สระน้ำ จำนวน 9 แห่ง – ประปาหมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง – ประปาตำบล จำนวน 1 แห่ง แหล่งน้ำสาธารณะประโยชน์ ใช้ในการเกษตรกรรม ประกอบด้วย – อ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว หมู่ที่ 1 จำนวนพื้นที่ 2,500 ไร่ – นบนาโพธิ์ หมู่ที่ 2 จำนวนพื้นที่ 15 ไร่ – ฝายน้ำล้นไสมะม่วง หมู่ที่ 3 จำนวนพื้นที่ 4 ไร่ – ฝายน้ำล้นบ้านในใส หมู่ที่ 5 จำนวนพื้นที่ 7 ไร่ – สระน้ำหนองเด หมู่ที่ 2,6 จำนวนพื้นที่ 19 ไร่ – สระห้วยนาง หมู่ที่ 3 จำนวนพื้นที่ 15 ไร่ – สระน้ำต้นหยี หมู่ที่ 4 จำนวนพื้นที่ 10 ไร่ – สระน้ำโรงรม หมู่ที่ 8 จำนวนพื้นที่ 10 ไร่ แหล่งน้ำใต้ดิน – ส่วนใหญ่เป็นน้ำตื้นมีไว้เพื่อการอุปโภคบริโภคหรือการเกษตรความลึกเฉลี่ย 6–8 เมตร การประปา – ประปาส่วนภูมิภาค (ระดับตำบล) และตำบลใกล้เคียง – ประปาหมู่บ้าน ชลประทาน – รับน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองท่างิ้ว ผ่านหมู่ที่ 1,3,4,8 – ระบบชลประทานส่งท่อน้ำผ่านทุกบ้าน 1.11ข้อมูลอื่น ๆ 1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่เทศบาลตำบลท่างิ้ว ประกอบด้วยทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เทือกเขาบรรทัด แหล่งน้ำมีลำคลองไหลผ่านจำนวน 1 สาย มีน้ำตกเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ จำนวน 1 แห่งคือ น้ำตกบ่อเจ็ดลูก 2 มวลชนจัดตั้ง – ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น จำนวน 120 คน – อพปร. ประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 หมู่บ้าน – กองหนุนเพื่อความมั่นคงของชาติ จำนวน – คน – อื่น ๆ เช่น อสม. ประจำหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน จำนวน 75คน – กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 8 กลุ่ม3. วัฒนธรรม/ประเพณีในตำบล
4. แหล่งท่องเที่ยว
5. การศึกษา – ไม่ได้เรียนหนังสือ จำนวน 128 คน – ประถมศึกษา จำนวน 2,001 คน – มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 562 คน – มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 343 คน – อนุปริญญา จำนวน 110 คน – ปริญญาตรี จำนวน 235 คน – สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน 14 คน 6. ความสัมพันธ์ของคนในตำบล – คนในชุมชนให้ความเคารพระบบอาวุโส – มีความสามัคคี – เอื้ออารีต่อกัน – อยู่กันในระบบเครือญาติ – เคารพผู้นำ 7. ภูมิปัญญาท้องถิ่นในตำบล – แพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน 1. นายลอย ชัยณรงค์ หมู่ที่ 1 หมอพื้นบ้าน 2. นายจำเริญ พลสมสาย หมู่ที่ 2 นวดแผนโบราณ 3.นางบุญเลี่ยง หนูทอง หมู่ที่ 3 นวดแผนไทย 4. นายแพ เชยแก้ว หมู่ที่ 3 หมอพื้นบ้าน 5. นางหนูนิล ปรีชา หมู่ที่ 4 หมอเอ็น 6. นายจัง สีสุข หมู่ที่ 6 หมอพื้นบ้าน, สมุนไพร, หมอเอ็น 7. นางคล้อย อ่อนชาติ หมู่ที่ 8 หมอเอ็น 8. นายจันทร์ที ปาสาเลา หมู่ที่ 8 หมอเอ็น 9. นายสมร ช่วยเกื้อ หมู่ที่ 5 หมอสะเดาะเคราะห์บ้าน, ทำขวัญนาค – อนุรักษ์ศิลป์วัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น 1. นายลอย ชัยณรงค์ หมู่ที่ 1 ตั้งพระภูมิเจ้าที่ 2. นางสว่าง นาโพธิ์ หมู่ที่ 2 พิธีกรสงฆ์ 3. นายเลื่อน หนูทอง หมู่ที่ 2 รำกลองยาว 4. นางส่อง นวลละออง หมู่ที่ 3 วัฒนธรรมท้องถิ่น 5. นายจำรัส ทองตาล่วง หมู่ที่ 4 พิธีกรทางสงฆ์ 6. นายบัญญัติ ช่วยบุญ หมู่ที่ 5 หนังตะลุง 7. นายจัง สีสุข หมู่ที่ 6 ตั้งพระภูมิเจ้าที่ 8. นายสวิก โออินทร์ หมู่ที่ 6 หนังตะลุง 9. นายอาคม ชูผล หมู่ที่ 7 จัดรดน้ำผู้สูงอายุ 10. นายเหิม จิตรอักษร หมู่ที่ 8 ทำว่าว – ช่างต่างๆ งานจักรสาน 1. นายกิจจา จิตรอักษร หมู่ที่ 1 ช่างไม้ 2. นายสนอง สืบสังข์ หมู่ที่ 2 ช่างก่อสร้าง 3. นางจรรยา สานพรหม หมู่ที่ 3 งานจักรสาน 4. นายเลี่ยม นิลบวร หมู่ที่ 4 งานจักรสาน 5. นายอาคม แสงแก้ว หมู่ที่ 5 ช่างก่อสร้าง 6. นายสมบูรณ์ บริพันธ์ หมู่ที่ 6 ช่างเหล็ก 7. นายอาคม ชูผล หมู่ที่ 7 ช่างเฟอร์นิเจอร์ 8. นายเทียน พิมโช หมู่ที่ 8 สานแห,สานไซ 9. นายสมนึก พลภักดี หมู่ที่ 8 ช่างเฟอร์นิเจอร์รากไม้ – การเพาะปลูก การขยายพันธุ์ 1. นายสมศักดิ์ แพ่งโยธา หมู่ที่ 1 ปลูกผัก 2. นายอนงค์ ล้อมเมือง หมูที่ 3 เพาะปลูก 3. นายประจวบ มืนมนต์ หมู่ที่ 4 เพาะปลูก 4. นายสุชาติ ช่วยเพชร หมู่ที่ 5 ขยายพันธุ์ 5. นายสมศักดิ์ จิตรอักษร |